การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปลเบื้องต้น

รายละเอียดคอร์สเรียน

โครงการอบรม 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปลเบื้องต้น (Intro to the Application of Translation Technology)

จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระหว่างวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2568 (12 ชั่วโมง)

ค่าอบรมคนละ 3,600 บาท (สามพันหกร้อยบาทถ้วน) 

-----------------------------------------

1.  หลักการและเหตุผล

เทคโนโลยีการแปลมีบทบาทสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของนักแปล และมีส่วนช่วยอย่างมากในการเพิ่มคุณภาพของผลงานแปลในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานโปรแกรมแปลอัตโนมัติ (Machine Translation: MT) เครื่องมือช่วยแปล (Computer-Assisted Translation tools: CAT tools) หรือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models: LLMs ซึ่งมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า AI) แนวทางการแปลที่ผสมผสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Machine-Assisted Human Translation: MAHT) ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสนับสนุนทั้งธุรกิจการแปลและตัวนักแปลเอง ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน และช่วยควบคุมคุณภาพของงานแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการแปลที่อาศัยมนุษย์เพียงอย่างเดียว

โครงการอบรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปลเบื้องต้น มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยแปลขั้นพื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ โปรแกรมแปลอัตโนมัติ (Machine Translation: MT), เครื่องมือช่วยแปล (Computer-Assisted Translation Tools: CAT Tools) และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models: LLM หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า AI) ผู้เรียนจะได้ศึกษาองค์ความรู้เชิงทฤษฎีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติผ่านซอฟต์แวร์พื้นฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ตัวอย่างการใช้งานจริง เพื่อเสริมสร้างทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปลในบริบทการทำงานร่วมสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ


2.  วัตถุประสงค์

     2.1  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการแปลเบื้องต้น

     2.2  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการใช้งานเทคโนโลยีการแปลแต่ละประเภทในระดับพื้นฐาน 

     2.3  เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและขยายขอบเขตแนวทางการทำงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3.  หัวข้อการอบรม

    3.1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปล และการฝึกปฏิบัติผ่านซอฟต์แวร์พื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ โปรแกรมแปลอัตโนมัติ (Machine Translation: MT), เครื่องมือช่วยแปล (Computer-Assisted Translation Tools: CAT Tools) และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models: LLM หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า AI)

    3.2  องค์ประกอบพื้นฐาน/แนวคิดเกี่ยวกับโปรแกรมช่วยแปล

    3.3  เครื่องมือการแปลประเภทอื่น


4.  วิธีการจัดอบรม

    4.1  การบรรยาย

    4.2  การฝึกปฏิบัติ

5.  ระยะเวลาในการอบรม

    อบรมทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2568

เวลา 09.00 – 12.00 น. รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง


6.  สถานที่อบรม

อบรมในรูปแบบออนไลน์


7.  ผู้เข้าอบรม

  นักแปลอิสระ/อาชีพที่สนใจแนวทางการแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปล (Machine-assisted human translation หรือ MAHT) หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปลและโปรแกรมช่วยแปล อนึ่ง หลักสูตรนี้ไม่กำหนดคู่ภาษาที่ผู้เรียนใช้ในการแปลเนื่องจากเป็นการสอนการใช้โปรแกรมเป็นหลัก

   ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน สามารถใช้โปรแกรม MS Office หรือโปรแกรมพื้นฐานอื่น ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว

ผู้เรียนต้องเตรียมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คส่วนตัวเพื่อใช้ประกอบการเรียน  โดยมีข้อกำหนดซอฟต์แวร์ขั้นต่ำ (System Requirement) ดังนี้

• ระบบปฏิบัติการ Windows 10 64-bit (with the Anniversary update: version 1607 and newer) หรือ Windows 11 64-bit

• หน่วยประมวลผล (Processor): อายุไม่เกิน 5 ปี Intel Core i5 หรือเทียบเท่า 

• *สำคัญ* หากใช้ระบบปฏิบัติการ Mac ต้องติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (เช่น VMWare Fusion หรือ Parallels) หรือ Bootcamp เครื่องเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows

• หน่วยความจำภายใน (RAM) ขั้นต่ำ 8 GB (แนะนำว่าควรมี 16 GB)

• Harddisk Space: 600 MB แนะนำ SSD drive

• ความละเอียดหน้าจอ (screen resolution) 1024x768 พิกเซล

• Microsoft.NET Framework: Version 4.8 or higher


8.  ค่าธรรมเนียมการอบรม

 ค่าอบรมคนละ 3,600 บาท (สามพันหกร้อยบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้


9.  การประเมินผล

คณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญรับรองการเข้าอบรมให้เป็นหลักฐานแก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาในการเข้าอบรม 100% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ


10.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปลพื้นฐาน ทั้งโปรแกรมแปลอัตโนมัติ เครื่องมือช่วยแปล และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ พร้อมฝึกทักษะการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแปลจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมจะสามารถพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เสริมสร้างแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และเตรียมความพร้อมในการปรับตัวสู่บริบทใหม่ของอุตสาหกรรมภาษาในยุคดิจิทัล

11.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้

1. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ ประธานโครงการ

2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ

3. อ. ดร.อนิมมาล เล็กสวัสดิ์ กรรมการ

ข้อมูลคอร์สเรียน

  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปลเบื้องต้น

  • ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2568

  • เวลา 09.00 – 12.00 น. รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง

คอร์สนี้มีใบรับรองหลังเรียนจบ