ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวทั่วไป - ประชาสัมพันธ์ - โครงการพิเศษ


ภาษาศาสตร์กับชื่อแบรนด์

ภาษาศาสตร์กับชื่อแบรนด์

โครงการอบรมภาษาศาสตร์ในปริภูมิดิจิทัล

ขั้นตอนการสมัครเรียนและดาวน์โหลดประกาศนียบัตรและใบคะแนน

ตารางอบรมภาษา รอบกลางปี 2567

ตารางอบรมภาษาต่างประเทศ รอบกลางปี 2567

เกณฑ์การให้ประกาศนียบัตรของศูนย์บริการวิชาการ

เสริมสร้างทักษะเฉพาะด้าน : การแปลภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารระดับต้น

ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ที่สนใจเรียนเป็นจำนวนมาก นอกจากเพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทย วัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาเป็นเวลานาน ทำให้ชาวไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกันมาก และยังมีปัจจัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่การที่ในพ.ศ.2562 ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบายรับแรงงานชาวต่างชาติโดยขยายกรอบไปจนถึงแรงงานแบบไม่มีฝีมือ (unskilled labor) ให้เข้าไปทำงานในประเทศเพื่อทดแทนแรงงานชาวญี่ปุ่นที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องมาจากการที่ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ปัจจุบันผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นมีขอบเขตกว้างขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศญี่ปุ่นด้วย อย่างไรก็ตาม การสอนภาษาญี่ปุ่นตามสถาบันการศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชนในปัจจุบันส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสอนตามวัตถุประสงค์ทั่วไป เช่น เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา เพื่อเตรียมสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น (Japanese Language Proficiency Test) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเพลิดเพลินกับสื่อประเภทต่าง ๆ ของญี่ปุ่น หรือเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม หลักสูตรส่วนใหญ่ยังไม่ครอบคลุมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์เฉพาะทางที่ต้องใช้ทักษะภาษาญี่ปุ่นระดับสูง โดยเฉพาะทักษะด้านการแปลที่จำเป็นต้องตีความเจตนาของผู้ส่งสารเพื่อถ่ายทอดความหมายสารได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งสถาบันที่จัดอบรมภาษาญี่ปุ่นเฉพาะทางซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้เชี่ยวชาญของผู้สอนมีจำนวนน้อยมาก อาจเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นรูปธรรมหรือสามารถสร้างชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับสูงที่มีประสิทธิภาพ

ทักษะสำคัญสำหรับล่ามการประชุม

งานล่ามเป็นงานที่ท้าทายและน่าสนใจ เป็นการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการถ่ายทอดความหมายข้ามภาษาและข้ามวัฒนธรรม ล่ามการประชุมเป็นอาชีพที่น้อยคนจะเข้าใจ และส่วนมากมีความคิดเกี่ยวกับล่ามการประชุมที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ตลาดล่ามการประชุมในประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด มีความต้องการล่ามการประชุมเพิ่มขึ้นจำนวนมากในเวลาอันจำกัดทำให้มีผู้ก้าวเข้าสู่อาชีพล่ามการประชุมโดยขาดความเข้าใจถึงลักษณะงานและทักษะสำคัญในการทำงาน ประกอบกับผู้จ้างล่ามบางรายขาดความเข้าใจในเนื้องานและบทบาทหน้าที่ของล่าม จึงทำให้เกิดปัญหาและช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับสภาพความเป็นจริงอยู่พอสมควรสำหรับงานล่ามการประชุม การอบรมเรื่องทักษะสำคัญสำหรับล่ามการประชุมจัดขึ้นเพื่อตอบสนองกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับการทำงานเป็นล่ามการประชุม โดยมุ่งฝึกทักษะในการแปลทั้งแบบล่ามพูดตามและล่ามพูดพร้อมในหัวข้อที่มีการประชุมจริง ผู้เรียนจะได้ทราบหลักการและเทคนิควิธีในแปลแบบล่าม ภาษาที่ใช้ในการเรียนคือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนสามารถนำหลักการและทักษะที่ตนพัฒนาขึ้นมาไปใช้กับคู่ภาษาอื่นได้

การแปลเบื้องต้น (ภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการแปลและการล่าม เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ การบริการวิชาการในสาขาวิชาการแปลนั้นจึงเป็นกิจกรรมที่ศูนย์การแปลและการล่ามฯ ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2536 โดยมีบุคคลภายนอกให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและการตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาความรู้และทักษะการแปลสำหรับการทำงานแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพนักแปลอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์การแปลและการล่ามฯ จึงจะเปิดโครงการอบรม “การแปลเบื้องต้น (ภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย)” โครงการอบรม “การแปลเบื้องต้น (ภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย)” เป็นการอบรมที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ฝึกวิเคราะห์ตัวบทและงานแปล ฝึกแปลตัวบทที่หลากหลาย รวมถึงการตรวจแก้และประเมินงานแปล ทั้งนี้เปิดโครงการอบรมระหว่างวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ถึงวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567

ภาษาอิตาเลียน

ภาษาอิตาเลียนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย ทั้งผู้เริ่มเรียน ผู้ที่มีพื้นความรู้มาแล้ว และผู้ที่ประกอบอาชีพที่ใช้ภาษาอิตาเลียน ผู้เรียนจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุงใช้ในงานส่วนของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้มีความรู้หรือทบทวนเพิ่มเติม พัฒนาและเพิ่มพูนทักษะและความมั่นใจในการพูดภาษาอิตาเลียน

ภาษาเมียนมา

การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลให้คนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและมีแนวโน้มของความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่สิ่งที่พบคือคนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมากลับยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการคนไทยที่สามารถใช้ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยวได้ ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกิดความตื่นตัวในด้านการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น คนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมาซึ่งประกอบด้วยทักษะด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมียนมาศึกษาในมิติเชิงลึกในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วยเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเปรียบเทียบและเข้าใจลักษณะสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยและเมียนมาได้ สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการ “ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว” ขึ้นเพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะภาษาเมียนมาและองค์ความรู้ด้านเมียนมาศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพให้กับหน่วยงานและผู้ประกอบการไทยที่ต้องใช้ภาษาเมียนมาและเพื่อนำไปใช้ต่อยอดจนเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด

ภาษาจีนกลาง

สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจของโลก องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในภาษาราชการที่ใช้ในการประชุมหรือสัมมนาต่างๆขององค์การฯ ภาษาจีนกลางจึงเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย คณะอักษรศาสตร์เห็นว่าภาษาจีนกลางเป็นสื่อกลางสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทัศนคติในแง่มุมต่างๆของชาวจีนได้ดียิ่งขึ้น

ภาษาญี่ปุ่น

ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ที่สนใจเรียนเป็นจำนวนมาก นอกจากเพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทย วัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาเป็นเวลานาน ทำให้ชาวไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกันมาก และยังมีปัจจัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่การที่ในพ.ศ.2562 ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบายรับแรงงานชาวต่างชาติโดยขยายกรอบไปจนถึงแรงงานแบบไม่มีฝีมือ (unskilled labor) ให้เข้าไปทำงานในประเทศเพื่อทดแทนแรงงานชาวญี่ปุ่นที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องมาจากการที่ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ปัจจุบันผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นมีขอบเขตกว้างขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศญี่ปุ่นด้วย