โลกยุคหลังความจริง #SaveTruth

รายละเอียดคอร์สเรียน

โครงการอบรม

“โลกยุคหลังความจริง #SaveTruth”

(WisArts Soft Skills Series)

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568   (Onsite) 

ค่าอบรมท่านละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)


1.  หลักการและเหตุผล

     ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและการทำงาน ทักษะที่เรียกว่า Soft Skills ซึ่งรวมถึงการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และความยืดหยุ่นในการปรับตัว กลายเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Soft Skills เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่วนบุคคลและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักจะส่งผลต่อวิธีที่เราทำงานและปฏิบัติต่อผู้อื่นในชีวิตประจำวัน ทักษะเหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี แต่ยังครอบคลุมถึงทักษะอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดอย่างอย่างสร้างสรรค์ หรือการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองและสังคม 

     โครงการ Lifelong Learning ด้าน Soft Skills ของคณะอักษรศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โครงการนี้มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทักษะสำคัญ เช่น การคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) และการรู้เท่าทันในยุคดิจิทัล (Digital Literacy) โดยหลักสูตรเหล่านี้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกเพศทุกวัย และเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเต็มที่ การพัฒนา Soft Skills ผ่านโครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนในด้านการทำงาน แต่ยังส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการทำงาน การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ

      โครงการ Lifelong Learning ชุด Soft Skills แบ่งเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มทักษะ โดยผู้เรียนสามารถเลือกกลุ่มทักษะที่สนใจเป็นโมดูลสะสมทักษะได้เอง ซึ่งมีทักษะหลัก 6 ด้านให้เลือก ได้แก่

   1) Critical Thinking: การคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ปัญหาและหาคำตอบอย่างมีเหตุผล

   2) Creative Thinking: การคิดเชิงสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาอย่างนวัตกรรม

   3) Digital Literacy: การรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

   4) Communication: การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในบริบทต่างๆ

   5) Self-Awareness: การตระหนักรู้ในตนเองและการบริหารอารมณ์

   6) Cultural Awareness: ความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่หลากหลาย

     ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาโมดูลที่สนใจและเก็บสะสมทักษะไปเรื่อยๆ ตามความความสนใจ โดยทุกทักษะจะมีวิชาย่อยให้เลือกเรียน ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนมีอิสระในการออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง สามารถเรียนก่อนหลังในแต่ละทักษะได้ตามที่ต้องการ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยลำดับของการเรียน ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรหลังผ่านการเรียนแต่ละวิชา  และเมื่อผู้เรียนสะสมทักษะครบ 45 ชั่วโมง จะสามารถนำมาเทียบโอนเข้ามาเป็นรายวิชาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตได้

     คอร์ส “โลกยุคหลังความจริง” เป็นคอร์สภายใต้โครงการ WisArts Soft Skills Series ซึ่งมุ่งเน้นทักษะ  Critical Thinking ซึ่งมุ่งให้คำอธิบายเกี่ยวกับประเด็นความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หรือว่ามนุษย์เข้าใจเอาเองว่ามันมีความจริงอยู่จริง เวลา 3 ชั่วโมงนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมสนทนารู้จักแก่นแกนของ “ความจริง” โดยจะนำสำรวจทฤษฎีความจริงเบื้องต้นและนำเข้าสู่สภาวะหลังความจริง สภาวะที่ไม่ใช่ของใหม่ แต่กลับมาเด่นชัดท่ามกลางปัจจัยเร่งจากบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ เมื่ออิทธิพลจากอารมณ์และความเชื่อส่วนบุคคลกลับมามีความสำคัญในการก่อร่างสร้างความคิดสาธารณะ ชีวิต และการเมือง


2.  วัตถุประสงค์

     1)  รู้จักและสามารถอธิบาย “ความจริง คืออะไร” และ “สภาวะหลังความจริงคืออะไร”

     2)  เข้าใจและสามารถอภิปรายเบื้องต้นถึงสภาวะหลังความจริงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์รวมถึงข่าวเท็จ โดยเฉพาะบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์


3. หัวข้อการอบรม

    - ทฤษฎีความจริงพื้นฐาน ความสำคัญ

    - นิยามของสภาวะหลังความจริง และตัวอย่างจริงที่เกิดในสังคมมนุษย์

    - ตัวอย่างทฤษฎีอคติเชิงการรู้คิด ความจริงที่สะดวกเชื่อ 

    - นิยามของข่าวเท็จ หรือเฟคนิวส์


4. อาจารย์ในรายวิชา
 

    1. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์  

    2. อ.ดร.ใกล้รุ่ง อิโซ


5. ระยะเวลาในการอบรม 

     วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568 เวลา 13.00-16.00 น. รวม 3 ชั่วโมง 

 

6. กำหนดการรับสมัคร 

    ตั้งแต่วันนี้ –  30 พฤษภาคม 2568

  

7. วิธีการสมัคร   

    สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.cascachula.com 


8. สถานที่อบรม        

    คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


9. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม 

     บุคคลทั่วไป 

  

10. ค่าธรรมเนียมการอบรม 

    ค่าธรรมเนียมในการอบรม  500 บาท 

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้ 


11. การประเมินผล 

    หัวข้อนี้มีการเรียน 3 ชั่วโมง ในช่วงท้ายคาบจะมีการประเมิน (ใช้เวลาประมาณ 15 นาที) ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนเข้าร่วมและสอบผ่านในระดับ C จะได้รับ Certificate of Completion 

     ***หากได้รับ Certificate of Completion ครบตามข้อกำหนดของรายวิชา 2200309 (สอบผ่านรายวิชาที่อยู่ในชุด Soft Skills Series ที่เรียนกันแล้วรวม 45 ชั่วโมง) สามารถโอนเทียบเป็นรายวิชา 2200309 ซึ่งเป็นรายวิชาการศึกษาทั่วไปของคณะอักษรศาสตร์ ได้ ***  

 

 12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

    1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้

แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง 

    2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพต่อไป 

 
13. ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย

   1.  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ* ประธานกรรมการ

   2.  ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ* กรรมการ

   3.  ผู้อำนวยฝ่ายวิชาการ* กรรมการ

   4.  เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ* กรรมการและเลขานุการ






 


ข้อมูลคอร์สเรียน

  • โลกยุคหลังความจริง #SaveTruth

  • วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568

  • เวลา 13.00-16.00 น. รวม 3 ชั่วโมง

คอร์สนี้มีใบรับรองหลังเรียนจบ