ปัญจกันยา : ชะตาชีวิต 5 สาวงามแห่งภารตะ

รายละเอียดคอร์สเรียน

ปัญจกันยา : ชะตาชีวิต 5 สาวงามแห่งภารตะ 

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2568   เวลา 13:00 - 16:00 น.   รวม 3 ชั่วโมง

ค่าอบรมท่านละ 500 บาท  (ห้าร้อยบาทถ้วน)


        ในวัฒนธรรมอินเดีย เรื่องเทพปกรณัมว่าด้วยเรื่อง “ปัญจกันยา” หรือ “ปัญจสุนทรี” ซึ่งแปลว่า “หญิงสาว/หญิงงาม 5 นาง” ได้แก่ นางอหลยา นางมนโททรี (นางมณโฑ) นางตารา จากรามายณะ และนางเทรา- ปที นางกุนตี จากมหาภารตะ 

        วรรณคดีทั้งสองเรื่องนี้เป็น “มหากาพย์” สำคัญของอินเดีย มีอิทธิพลต่อสังคมอินเดียในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรม ฯลฯ อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง สารัตถะสำคัญประการหนึ่งของทั้งสองเรื่อง คือ อุดมคติในการดำเนินชีวิตผ่านความเข้าใจชีวิตของตัวละคร โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักจะเน้นกล่าวถึงวีรกรรม ตำนานของตัวละครบุรุษในเรื่อง แต่อันที่จริง ตัวละครสตรีก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่ยิ่งกว่ากัน การรู้และการเข้าใจตำนานเรื่อง “ปัญจกันยา” นี้จะทำให้เข้าใจเรื่องอุดมคติสตรี สถานภาพสตรี ความสัมพันธ์ของบุรุษและสตรีในอารยธรรมอินเดีย อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจความคิดและโลกทรรศน์ของชาวอินเดียโบราณด้วย และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวที่คล้ายกันในวัฒนธรรมอื่นได้ด้วย    


วัตถุประสงค์

-  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องเทพปกรณัมอินเดีย ว่าด้วยเรื่อง “ปัญจกันยา” ซึ่งว่าด้วยตำนานของสตรี 5 คนในวรรณคดีสันสกฤตสำคัญ ได้แก่ จากมหาภารตะและจากรามยณะ การรู้เรื่องนี้ทำให้เข้าใจแนวคิดเรื่องสตรีในวัฒนธรรมอินเดีย   


หัวข้อการอบรม

-  เรียนรู้ประวัติความเป็นมาชะตาชีวิต 5 หญิงงาม มองความสัมพันธ์ระหว่างสตรี-บุรุษ และอุดมคติสตรีในสังคมอินเดียโบราณ

ข้อมูลคอร์สเรียน

  • ปัญจกันยา : ชะตาชีวิต 5 สาวงามแห่งภารตะ

  • วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2568

  • วันเสาร์ 13:00 -16:00 น. รวม 3 ชั่วโมง

คอร์สนี้มีใบรับรองหลังเรียนจบ